:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::

นายชัชชัย พุทธสุวรรณ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
About BRR
 ภูมิหลัง
 ผู้บริหารโรงเรียน
 เป้าพัฒนาโรงเรียน
 อาณาเขตของเบญจมฯ
 แผนที่ที่ตั้งโรงเรียน
 ทำเนียบผู้บริหาร
 ทำเนียบครู
 กรรมการสถานศึกษา
 ทำเนียบประธานนักเรียน
 สถานที่
 เบญจมฯศูนย์บางเตย
 ข้อมูลการติดต่อ
Graphical counter
from SEP 2550
Truehits stat
Counter Map
Locations of visitors to this page
Articles Hierarchy
Articles Home » ICT » โครงการพยัคฆ์ทะยาน : TIIGRIHUPE
โครงการพยัคฆ์ทะยาน : TIIGRIHUPE
เป็นบทความของคุณ Theerapat Charoensuk ที่เขียนเมื่อ วันที่13 มิถุนายน เวลา 3:10 น. .. สนใจเรื่องราวของเขาไปที่ https://www.facebook.com/terasphere

----------------------------------------

โครงการพยัคฆ์ทะยาน : TIIGRIHUPE

แผนการที่เปลี่ยนรัฐบอลติกยากจนจากศตวรรษที่ 20 ให้กลายเป็นรัฐไซเบอร์พังค์ที่ร่ำรวยและพัฒนาแล้วแห่งศตวรรษที่ 21 ในชั่วคนเดียว



หลังจากม่านเหล็กล่มสลาย โซเวียตแตกเป็นเสี่ยงๆ ชาวเอสโตเนียหนีการเกณฑ์ทหารของกองทัพโซเวียต ก่อการปฏิวัติเสียงเพลงด้วยการจัดเทศกาลดนตรี ร่วมกันขับร้องเพลงชาติและเพลงปลุกใจภาษาเอสโตเนียนที่ถูกโซเวียตห้ามเป็นแสนๆ คน คล้องแขนกันเรียงหน้าชนรถถังและกองทหาร ปกป้องสถานีวิทยุที่ออกอากาศคำประกาศอิสรภาพ จนสามารถประกาศเอกราชได้ในปี 1989

ปี 1992 สินค้าออกของเอสโตเนียคือสินค้าเกษตรและประมง ส่งออกไปรัสเซียมากกว่า 90% เนื่องจากถูกปิดล้อมทางทะเลมานับหลายทศวรรษ เทคโนโลยีอยู่ในระดับต่ำ ประชาชนไม่มีโทรศัพท์ใช้ โทรทัศน์เป็นของหายาก ประชาชนอยู่ใต้เส้นความยากจนมากกว่า 70%

ปี 1996 โทมัส เฮนดริก ไอฟส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ซึ่งเคยเป็นอดีตเอกอัครรัฐทูตเอสโตเนียประจำสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ที่โลกตะวันตกกำลังเริ่มเฟื่องฟู ว่าจะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อไปในอนาคต จึงได้เสนอแผนการ TIIGRIHUPE "พยัคฆ์ทะยาน" ต่อ จาค อาวิคโซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น

แผนการพยัคฆ์ทะยาน คือการริเริ่มเผยแพร่การเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์และเขียนโปรแกรมลงไปในโรงเรียนทุกแห่งของเอสโตเนียตั้งแต่ชั้นอนุบาล เริ่มในปีงบประมาณ 1997 โดยใช้คอมพิวเตอร์แบบ CP/M ระบบ 8 บิท ในการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากมีโรงงานประกอบเป็นของเหลือจากสมัยโซเวียตอยู่แล้ว เอสโตเนียปฏิเสธการรับเซ้งต่อระบบโทรศัพท์มีสายของฟินแลนด์ แต่เริ่มต้นข้ามขั้นด้วยระบบอินเตอร์เน็ตไฟเบอร์ใยแก้วนำแสง และระบบไร้สาย เนื่องจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มองว่า "ใช้ของเก่าก็ต้องเริ่มของเก่า ตามแข่งขันไม่ทัน เริ่มของใหม่ก็เริ่มที่จุดเริ่มเดียวกัน ย่อมสู้ได้"

คิดดูสิว่า เด็กที่เรียนรู้ด้านโปรแกรมมิ่งตั้งแต่ปี 1997 ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา จะเกิดอะไรขึ้น?

เอสโตเนียก่อกำเนิดโปรแกรมเมอร์ชั้นยอด สตาร์ทอัพ และแอพพลิเคชั่นที่เข้าไปอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสนทนาและประชุมงานยอดนิยมอย่าง Skype เกิดด้วยฝีมือของชาวเอสโตเนียในปี 2003 - หลังจากโครงการพยัคฆ์ทะยานดำเนินการไปได้ 6 ปี - พริท คาซาเซลู ผู้ก่อตั้ง Skype เคยเป็นพนักงานในโรงงานคอมพิวเตอร์ 8 บิทที่ผลิตเพื่อใช้สอนในโรงเรียนของเอสโตเนีย การขาย Skype ให้แก่ e-bay ในปี 2005 ทำให้เงินกว่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐเข้าสู่ประเทศ และเมื่อ Microsoft ซื้อ Skype ไปในปี 2011 ด้วยราคา 8.5 พันล้านเหรียญ ยิ่งทำให้กระแสเงินหมุนเวียนมากขึ้น เพราะ 44% ของพนักงาน Skype นั้น ยังอาศัยอยู่ในกรุงทัลลินน์และเมืองทาร์ตูของเอสโตเนีย

ในเดือนเมษายนปี 2007 เอสโตเนียถูกโจมตีทางไซเบอร์ครั้งร้ายแรง ทั้งด้วยการ ยิง DDoS จนทำให้ระบบและเว็บไซต์ของรัฐ หนังสือพิมพ์ และบริษัทเอกชนใหญ่ๆ ล่มไป รวมถึงการสแปม ฟลัดโพสต์ข้อความเสื่อมเสียและคอมเมนต์ในหน้าข่าวต่างๆ ของเอสโตเนียรวมถึงพรรคปฏิรูปที่เป็นรัฐบาล ซึ่งต่อมาทางการได้จับกุมชาวเอสโตเนียเชื้อสายรัสเซียว่าเป็นผู้ลงมือทำ พร้อมกับสาวโยงไปถึงเซอร์เกย์ มาร์คอฟ สมาชิกสภาดูม่าของรัสเซียว่าอาจอยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนั้น ซึ่งภายหลัง ประธานาธิบดีไอฟส์ได้จัดตั้งระบบศูนย์ป้องกันภัยไซเบอร์ร่วมกันของ NATO โดยมีชื่อเล่นว่า "พยัคฆ์พิทักษ์" Tiigrikaitse เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ล้วนแล้วแต่เติบโตมาพร้อมกับโครงการพยัคฆ์ทะยานตั้งแต่วัยเด็กนั่นเอง

ปัจจุบัน เอสโตเนียกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีรายได้ต่อหัวและคุณภาพชีวิตระดับสูง GDP 15% ของเอสโตเนียมาจากสินค้าไฮเทค 66% มาจากภาคการบริการ คิดภาษีเงินได้ในอัตราเท่ากันหมดที่ 21% ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าใด บริษัทธุรกิจไม่เสียภาษีในการทำธุรกิจออนไลน์ โดยจะเก็บเมื่อปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในฐานะภาษีเงินได้ GDP ต่อหัวอยู่ที่ 27,729 เหรียญสหรัฐ (มากกว่าไทย 5 เท่า) เป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ดุลบัญชีเป็นบวก และหนี้สาธารณะมีเพียงแค่ 8% ของ GDP เป็นประเทศเจ้าหนี้ของ IMF และยูโรโซน อินเตอร์เน็ตเร็วเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เสรีภาพสื่อเป็นอันดับ 3 ของโลก และประชาชนเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตมากที่สุดในยุโรป โดยมีรัฐบาลประชาธิปไตยที่เต็มไปด้วยคนวัยหนุ่มสาว นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ทาวี รีวาส อายุแค่ 36 ปี! (เกิด 1979) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอายุ 39 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังอายุ 46 รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมอายุ 40 รัฐมนตรีกระทรวงส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจอายุ 35 ปี

"เอสโตเนียเป็นประเทศของสตาร์ทอัพ ไม่ใช่แค่จำนวน แต่เป็นด้วยจิตวิญญาณประชาชาติ" - เบน โฮโรวิตซ์ นักลงทุน Venture Capital ชื่อดัง กล่าวไว้

เวลาที่สร้างอนาคตได้ดีที่สุด คือยี่สิบปีที่แล้ว ถ้าทำไม่ได้ เวลาที่ดีรองลงมาคือตอนนี้!
Comments
No Comments have been Posted.
Post Comment
Please Login to Post a Comment.
Events
<< June 2017 >>
Mo Tu We Th Fr Sa Su
      1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30    

No events.

BRR facebook
เอกสาร/ข้อมูล

คู่มือระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (คลิก)

คู่มือนักเรียน
ผู้ปกครองและครู ปีการศึกษา 2566(คลิก)


ใบลากิจ/ลาป่วย (คลิก)

แบบฟอร์มแผนการจัดการเรียนรู้(คลิก)


แบบฟอร์มงานการเงิน (คลิก)


รายงานการประเมินตนเอง (SAR) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ปีการศึกษา 2565 (คลิก)

เอกสารรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (คลิก)

ค้นหาภายในเว็บ BRR
บทความใน BRR
คำถามที่ถามบ่อย
Communicate
เบญจมราชรังสฤษฎิ์
โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานบุคลากร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
งานสารสนเทศ โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
กลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์
กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯศิลปะ
กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
กลุ่มสาระภาษาไทย
กลุ่มสาระย่อยฯคอมพิวเตอร์
IEP
งานแนะแนว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
เพจสภานักเรียน
To be number one brr
กองร้อยพิเศษเบญจมราชรังสฤษฏิ์
นักศึกษาวิชาทหาร โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
ห้องเรียนสีเขียว โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
AV BEN Studio
TYC ตลาดบ้านใหม่
TYC ตลาดบ้านสุขสำราญ

OK-Blog ครูณรงค์

จังหวัดฉะเชิงเทรา
Web Site in BRR
เว็บไซต์ดั้งเดิม 2550

ALUMNA WEB
เฟซบุ๊คสมาคมศิษย์เก่า
เผยแพร่งาน

เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(ชุดฝึกทักษะปฏิบัติรำโทน)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัมพวรรณ์ เพียรพิจิตร(ชีววิทยา)
เอกสารครูพิมพ์วดี จันทรโกศล(นาฏศิลป์)
เอกสารครูอัจฉรัตน์ ยืนนาน(เคมี)
เอกสารครูสุริยา ช้างพลายแก้ว(สังคมศึกษา)
เอกสารครูฉัตรฐพร ศิริวัน(เคมี)
เอกสารครูรัชดาวรรณ์ จริยาวัตรโสภณ(ระบบนิเวศ)
เอกสารครูเพ็ญนภา ทองดี(วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น)
เอกสารครูอดุลย์ วิริยาพันธ์(ภาษาไทย)
เว็บเรียนรู้
ศูนย์การเรียนชีววิทยา
บทเรียนออนไลน์​ เรื่อง​ เครื่องดนตรีไทยและวงดนตรีไทย​ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่​ 4​ จัดทำโดย​ ครูปพิชญา​ อ่อนสำลี​ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
..:: L-AMANT by HaYaLeT Valid XHTML 1.0 TransitionalValid XHTML 1.0 Transitional March 28 2024 09:21:39