:: ผู้อำนวยการโรงเรียน ::
นายศักดิ์เดช จุมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์
Table './mainweb/fusion_online' is marked as crashed and should be repairedTable './mainweb/fusion_online' is marked as crashed and should be repairedTable './mainweb/fusion_online' is marked as crashed and should be repaired
Table './mainweb/fusion_online' is marked as crashed and should be repaired Guests Online: 0
Members Online: 0
Total Members: 13
Newest Member: brr1
Graphical counter from SEP 2550
Oh no! Where's the
JavaScript ?
Your Web browser does not have JavaScript enabled or does not support JavaScript. Please
enable JavaScript on your Web browser to properly view this Web site,
or
upgrade to a Web browser that does support JavaScript;
Firefox ,
Safari ,
Opera ,
Chrome or a version of
Internet Explorer newer then version 6.
4.0 มันคืออะไรเหรอ
มันคือค่าวัดผลของคนเรียนเก่งใช่มั้ย??
........
ตัวเลข 4.0 ที่กล่าวนี่เชื่อว่าทุกคนจะต้องได้ยินได้ฟังได้อ่านแทบจะทุกเวลาช่วงข่าว เพราะเป็นตัวเลขที่มาประกอบคำว่า Thailand เป็น Thailand 4.0 ซึ่งรัฐบาลโปรประกันดานักหนาว่าจะเป็นการนำพาประเทศไทยเดินไปสู่ความ "มัั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่รัฐบาลประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษาให้เป็นข้อบังคับใช้ไปแล้วนั้น
ผมจะไม่ลงรายละเอียดไปในเรื่อง Thailand 4.0 เพราะวันนี้ตั้งใจมาคุยเรื่อง การศึกษาไทย 4.0 หรือ Education 4.0 นะครับ
ก่อนอื่นเลยต้องหานิยามของคำว่าการศึกษา 4.0 กันก่อน
ความจริงแล้วต้นสายปลายเหตุของ Education 4.0 ก็มาจาก Thailand 4.0 นั่นเอง จากการที่อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์2 กล่าวถึงโมเดลประเทศไทย 4.0 ท่านใช้ภาษาอังกฤษว่า Valued-Based Economy ซึ่งจะหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่ยึดคุณค่าเป็นฐาน เมื่อมามาใช้กับการศึกษา จึงเท่ากับเป็น Valued-Based Education ที่การศึกษายึดคุณค่าเป็นฐาน นั่นเอง
ทีนี้การศึกษา 4.0 นี่จะหมายถึงอะไรล่ะ
คุณไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2559 ก) นิยามการศึกษาไทย 4.0 ไว้เป็นการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างผลงานหรือนวัตกรรมได้ ซึ่งแตกต่างจากการศึกษา 3.0 เป็นการศึกษายุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีหรือยุคโลกาภิวัตน์การศึกษา 2.0 เป็นการศึกษาในแนวคิดของอุตสาหกรรมที่สอนให้คนรู้ว่าไม่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์อะไรมาก เพราะในโรงงาน มีคนคิดให้แล้ว และการศึกษายุค 1.0 เป็นการศึกษาเพื่อสังคมการเกษตร เป็นการศึกษาแบบเบ็ดเสร็จ เรียนตามที่ครูสอนไปเรื่อยๆ เน้นการบรรยายเป็นหลัก (Cr.บทความของสมาน อัศวภูมิ)
เมื่อรู้นิยามการศึกษาไทย 4.0 ว่าเป็นการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างผลงานหรือนวัตกรรมได้แล้ว .. ทีนี้ปัญหาก็ไปตกอยู่ที่ผู้ต้องรันนโยบายการศึกษาชาติแล้วนะครับว่าจะต้องดำเนินงานตามนโยบายต่อไปอย่างไร
ผมเห็นความพยายามของกระทรวงศึกษา และ สพฐ. ที่พยายามผลักดันนโยบายเรื่องการพัฒนาการศึกษาทั้งทั้งระบบด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารงานการศึกษาใหม่ก็ดี พัฒนาบุคลากรครูในรูปแบบจัดการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพแก่ครูก็ดี ลดภาระของครูเพื่อคืนครูสู่ห้องเรียนก็ดี หรือลดความเครียดแก่เด็กนักเรียนด้วยโครงการลดเวลาเรียนเปลี่ยนเวลารู้ และอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีครับส่วนผลเป็นอย่างไรนั้นทุกคนในวงการศึกษาคงได้รับรู้แล้วโดยทั่วกัน
เพื่อให้แคบเข้ามาในเรื่องที่ผมต้องการสื่อก็คือเรื่องการจัดการเรียนการสอนในยุคการศึกษา 4.0 ซึ่งใช้ทฤษฎี Valued-Based Education เป็นแบบในการดำเนินการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคสมัย
ที่ผมจะชี้เชิญชวนให้พี่น้องครูได้มองเห็นการจัดการเรียนการสอนในยุคนี้ที่อาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 นั้นคือเครื่องมือ(Hardware) สื่อประกอบการเรียนการสอน(Software) ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมด ที่ครูมืออาชีพทุกคนจะต้องเรียนรู้และนำมาใช้มากบ้างน้อยบ้างตามบริบทของกลุ่มสาระวิชา
เราโชคดีมากที่ศตวรรษนี้ เทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้ง่ายจนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในราคาไม่แพง ความรู้ทุกสาขาวิชาล้วนถูกวางไว้ในโลกอินเตอร์เน็ตต้องการรู้เรื่องใดๆเพียงใช้เครื่องมือค้นหาจากโปรแกรม Browser ซึ่งเป็นที่รู้กันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว
ณ วันนี้เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่ามีคุณครูหลายต่อหลายท่านใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเพื่อจัดการกับการเรียนการสอนกันอยู่ โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อการเรียนการสอนผ่านโปรแกรม google app หรือโปรแกรม moodle หรือโปรแกรมอื่นๆ และเชื่อว่าครูที่ใช้เครื่องมือเหล่านั้นแต่ละคนมีความชำนาญจนสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนครูด้วยกันได้ แต่ปัญหาอุปสรรคของการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กันนั้นจะต้องมีเวลาให้แก่กันและกันเนื่องจากถาระงานของแต่ละคนที่มีอยู่
มันจึงมาถึงเรื่องการบริหารจัดการ และนโยบายในการที่จะพัฒนาครูให้มีทักษะที่จะใช้เครื่องมือสื่อการสอนเพื่อนำไปใช้กับการสอนในรายวิชาที่ตนรับผิดชอบ ... ในเรื่องนี้งานวิชาการจัดการศึกษาในโรงเรียนจะต้องมีเป้าหมายชัดเจนในนโยบายที่จะพัฒนาการเรียนการสอนในยุค Education 4.0 หรือการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ... การมีเป้าหมายชัดเจนและเอาจริงเอาจังเพียงใดนั้นคงขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารจัดการนะครับ
เพราะเชื่อว่าวันนี้โครงสร้างพื้นฐานด้านอินเตอร์เน็ตโรงเรียนก็ดี ด้านอุปกรณ์ไอทีก็ดี พร้อมอยู่แล้วนี่ครับ
ณรงค์ นันทวิจิตร
18/12/2561
No Comments have been Posted.
Please Login to Post a Comment.
<< April 2021 >>
Mo
Tu
We
Th
Fr
Sa
Su
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
No events.